มาดู จีนทำยังไงกับ Fake News
.
ปัญหาโลกแตกของ ยุค digital เทคโนโลยี ความทันสมัย
ก็คือ เฟคนิวส์ ข่าวปลอม นั่นเอง
.
ยิ่งช่วง Covid ระบาดแรก ๆ ข้อมูลมีเยอะมากในแต่ละวัน
LINE เด้งไม่หยุด ให้กินนู่นนี่นั่น กันโควิด จังหวัดไหน ห้ามเข้า
.
งงแค่ไหน ทุกคนรู้ แฟนคลับรู้ คนไทย 70 ล้านคน แชร์ข่าวยังปวดหัวขนาดนี้
เมืองจีน 1.4 พันล้านคนจะขนาดไหน
.
Angbao ขอพาไปดูว่า จีนทำยังไง แตกตื่นอย่างไม่ตื่นตูม
.
.
– – – – –
.
✅ กด See First กันด้วยนะค้าาา จะได้ไม่พลาดอัพเดท กิน เที่ยว ไลฟ์สไตล์ชิลๆกัน!!
.
✅ ติดตามผลงานจาก Angbao Society กันได้ทาง
instagram : www.instagram.com/angbao.society
.
– – – – –
.
.
จากการสำรวจ คนจีนใช้เวลาเล่น Internet วันละ 6.2 ชั่วโมง
Platform ที่ใช้มากที่สุด คือ Wechat คล้ายๆ กับคนไทย เล่น LINE
.
ในช่วงหลังตรุษจีน ยืนยัน การระบาดของโควิด
ข่าวปลอม เป็นปัญหา คารังคาซัง
จีนก็เหมือนไทย พยายามจัดการ แต่ยังได้ไม่เต็มที่ คราวนี้พิเศษ
.
.
1. การร่วมมือของรัฐกับเอกชน
ในช่วง โควิด Tencent กับ Alibaba ใช้พนักงานกว่า 350,000 คนมากรองข่าวปลอม เพราะมี พนักงานที่มีความสามารถด้าน การใช้คอมพิวเตอร์
.
ร่วมกับ Xinhua Net และใช้ Big data มาจัดการ
ในการดูแลของรัฐ โดย Cyberspace Administration of China
.
.
2. ไม่ได้บอกแค่ว่ามันปลอม
มีคำกล่าวว่า ข่าวปลอมเหมือนสายน้ำเชี่ยว ไหลเร็ว อุดรูยาก
.
จีนก็พยายามจัดการจุดนี้ บอกว่า ปลอมอย่างเดียว ไม่ได้ สำคัญกว่า คือ บอกว่า ที่จริงคืออะไร
.
ใน User Interface จะแบ่งเป็น 3 สี
สีแดง ปลอมแน่ๆ ไปอ่านจะพบเลย ว่าข่าวมาจากไหน ที่ถูกคืออะไร อ้างอิงชัดเจน
สีเขียว อันนี้ข้อมูลจริง แชร์ได้
สีเทา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ กำลังเช็คอยู่
.
.
3. ข้อมูล unify สอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็น platform ไหน
ข้อนี้น่าประทับใจ ในการจัดการอย่างจีน เป็นการจบสิ้น ความมั่วที่ไม่สิ้นสุด
.
ไม่ว่าจะเข้า Wechat Weibo หรือ Baidu ข้อมูลเป็นไปทางเดียวกัน
และ หัวข้อ fake news ถูกหยิบมา เป็นหัวข้อแนะนำ
ไม่ต้องกลัวตกข่าว แม้ไม่มีคนแชร์
.
การจัดการแบบนี้ยังช่วยแก้ปัญหา ทะเลาะกับผู้ใหญ่ เพราะ generation gap
เพราะเป็น facts ถูกต้อง แน่นอน สบายใจทุกฝ่าย
.
.
4. เปิดช่องให้ถามคำถาม
ผู้ใช้งานสามารถกรอกข่าว ที่เห็นได้ยิน เพื่อแก้งง
แล้วทางหน่วยงานกลาง ไปหาข้อมูลมาให้ไขข้อสงสัย
.
เพราะบางครั้ง แม้เป็นบริษัทใหญ่ หรือ คนเก่งแค่ไหน ก็อาจหลุดบางข่าวไปได้
.
.
5. สื่ออื่นให้ความร่วมมือ
ปฏิเสธ Aging Society ไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีมอบคำตอบให้ ประชากรกลุ่มใหญ่
ไม่ใช่ผู้สูงอายุทุกคนจะใช้โทรศัพท์ ทางการ ก็มีช่วงท้ายรายการข่าว แจ้ง แก้ไข ข้อมูลเท็จ
.
เพราะบางครั้ง สภากาแฟ เม้าส์มอยกัน ก็เป็นแหล่งที่มาของข้อมูลได้
.
.
.
สรุปแล้ว โควิด เป็นตัวกระตุ้น ให้มีการจัดการที่จริงจังมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น BAT Baidu-Alibaba-Tencent ก็มาร่วมมือกัน
การร่วมมือกันทุกฝ่าย จำเป็น ในการจัดการ ข่าวปลอม ในโลก 4.0 ที่ข้อมูลปริมาณมาก
.
แอดเองติดตาม และใช้บริการเว็บเหล่านี้อยู่บ่อย
แม้ว่าตอนนี้ที่โควิดในจีน เริ่มดีขึ้น
Platform เหล่านี้ก็ยังดำเนินการอยู่ เรียกได้ว่า ไม่ธรรมดา
.
อยากรู้ อ่านเพิ่ม ศึกษาได้ที่
https://vp.fact.qq.com/home
http://www.piyao.org.cn/
.
.
#AngbaoKnows
#รู้จักจีนกับเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆ
.
.
#AngbaoSociety
#วาไรตี้รายการจีนโดยหนุ่มตี๋สาวหมวย