“เทคนิคการเตรียมตัวสอบเข้า PBIC สำหรับ เด็ก65 / 66 / 67 ทั้ง Portfolio / Interview / Writing”
สำหรับน้องๆม.ปลาย ที่วางแผนอยากจะสอบเข้าคณะ PBIC ธรรมศาสตร์ (Pridi Banomyong International College) ทั้งในปี 65/66/67 วันนี้ทางพี่ๆ ECI ได้มีเทคนิคการเตรียมสอบเข้าในแต่ละรอบมาให้น้องๆได้ลองนำไปใช้เตรียมตัวกัน
ก่อนเราจะไปดูเทคนิคของแต่ละรอบ เรามาทำความเข้าใจกับระบบสอบเข้าของคณะนี้กันก่อนดีกว่า (ข้อมูลอัปเดตปี 64)
1. PBIC เปิดรับสมัครกี่รอบ จำนวนกี่คน
ทางคณะเปิดรับสมัครทั้งหมด 5 รอบ เอกจีนศึกษารับ 100 คน เอกไทยศึกษารับ 40 คน แบ่งเป็น
- รอบ 1 – Inter Portfolio 1 ( เอกจีนรับ 40 คน / เอกไทยรับ 15 คน )
- รอบ 2 – Inter Portfolio 2 ( เอกจีนรับ 20 คน / เอกไทยรับ 5 คน )
- รอบ 3 – Inter Program – admission 1 ( เอกจีนรับ 30 คน / เอกไทยรับ 10 คน )
- รอบ 4 – Inter Program – admission 2 ( เอกจีนรับ 5 คน / เอกไทยรับ 5 คน )
- รอบ 5 – ยื่นผ่านระบบ TCAS ( เอกจีนรับ 5 คน / เอกไทยรับ 5 คน )
2. ต้องใช้คะแนนพื้นฐานอะไร
ไม่ว่าน้องๆจะสมัครเข้าในรอบไหน คะแนนพื้นฐานก็เป็นสิ่งใช้ยื่นเข้าสมัครสอบเหมือนกัน ดังนั้น เริ่มการเตรียมคะแนนไว้แต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยให้น้องๆมีเวลาเตรียมตัวสำหรับการสอบในแต่ละรอบมากขึ้น ส่วนจะต้องใช้คะแนนอะไรกันบ้างนั้น เราไปดูกันเลย
- ผลการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ (ตัวใดตัวหนึ่ง และ ผลสอบอายุไม่เกิน 2 ปี) (สำหรับเอกจีนศึกษา และ ไทยศึกษา)
– TU-Get > 500 คะแนนขึ้นไป
หรือ – IELTS (ACADEMIC) > 6.0
หรือ – TOEFL (IBT) > 61
หรือ – TOEFL (CBT) > 173
หรือ – TOEFL (ITP, PBT) > 500
หรือ – New SAT (Based Reading and Writing)> 400
หรือ – GSAT (Reading) > 400
- ผลสอบ HSK 4 > 180 คะแนน (สำหรับยื่นสมัครเอกจีนศึกษาเท่านั้น)
หลังจากที่น้องๆเตรียมคะแนนและผลสอบต่างๆเรียบร้อยแล้ว ทีนี้เรามาดูเทคนิคการเตรียมตัวสอบของแต่ละรอบกัน!!
.
รอบที่ 1-2-4 (Portfolio + Interview)
สำหรับในทั้งสามรอบนี้ จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ และ แสดงแฟ้มผลงานกับกรรมการคุมสอบ โดยจะใช้ภาษาอังกฤษ และ จีนสัมภาษณ์เป็นหลัก ดังนั้น เทคนิคที่จะทำให้น้องๆได้เปรียบมากๆในรอบนี้ก็คือ
การทำผลงานที่เกี่ยวกับภาษาจีนและประเทศจีน หรือ กิจกรรมด้านวัฒธรรมต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นกิจจกรรมในโรงเรียน นอกโรงเรียน หรือการไปแข่งขันต่างๆ เพราะกิจกรรมจะเป็นแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและสนใจในการเข้า PBIC มากๆ โดยเฉพาะน้องๆ ปี 65/66/67 ที่สามารถเก็บผลงานไว้ ก่อนจะไปเตรียมตัวสอบตอน ม.6 ได้
การฝึกใช้ภาษาจีน และ อังกฤษ
โดยเฉพาะด้านการพูดและการฟัง สามารถเล่าประสบการณ์และผลงานของตัวเองในทั้งสองภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว เพราะในการสัมภาษณ์ทางกรรมการจะต้องถามถึงผลงานที่เราเคยทำมาอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าเราสามารถใช้ภาษาอังกฤษและจีนได้ดี นอกจากจะแสดงศักยภาพของเราแล้ว ยังช่วยกรรมการเข้าใจสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสารได้มากขึ้นอีกด้วย
.
รอบที่ 3 ( Writing + Interview )
รอบที่ 3 จะเป็นรอบเดียวที่มีการสอบเพิ่มเข้ามา โดยจะเป็นการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ (Writing) ในเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศจีน และ ไทย (ขึ้นอยู่กับว่าน้องๆจะเข้าเอกไหนจ้า) หลังจากสอบข้อเขียนแล้วจึงไปทำการสอบสัมภาษณ์ต่อ ดังนั้นมาดูกันว่าเราจะมีเทคนิคเตรียมตัวข้อเขียนอย่างไรดี
ทำความรู้จักเกี่ยวกับประเทศจีน หรือ ไทย ไว้ให้ได้มากที่สุด
การที่เรามีความรู้เกี่ยวกับประเทศจีนหรือไทยไว้มาก ก็จะทำให้เรามีเนื้อหาที่จะเรียบเรียงเขียนลงไปในเรียงความได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม วัฒนธรรม การเมือง อาหาร ฯลฯ โดยยิ่งถ้าเรารู้กว้าง รู้ลึก เวลาเขียนเราก็จะสามารถเชื่อมโยงเรื่องต่างๆเข้าด้วยกันได้ และไม่ว่าหัวข้อคำถามจะมาอย่างไร เราก็จะสามารถเขียนออกมาได้เสมอ
ฝึกทักษะการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ ( Essay )
การฝึกเขียนถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการเตรียมสอบในรอบนี้ นอกจากเรื่องไวยากรณ์ต่างๆแล้ว น้องๆสามารถไปศึกษาดูได้ว่า การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษที่ดีจะต้องมีรูปแบบอย่างไร มีโครงสร้างแบบไหน รวมถึงการฝึกใช้คำเชื่อมรูปแบบต่างๆ ที่จะช่วยให้เรียงความของเราทั้งหมดดูเป็นหนึ่งเดียวกันและอ่านได้ลื่นไหล เมื่อเรานำไปเขียนสอบก็จะทำเรียงความของเรานั้นเข้าใจได้ง่าย และแสดงถึงความเชียวชาญในการเขียนของเราด้วย
หลังจากที่เตรียมข้อเขียนกันไปเรียบร้อยแล้ว ทำสำหรับการสัมภาษณ์นั้น ถ้าน้องๆเตรียมพอร์ตเสริมไปด้วยก็จะแสดงถึงความตั้งใจและสนใจในการเข้าได้มากขึ้น และอย่าลืมฝึกซ้อมสัมภาษณ์ไปให้พร้อมด้วยนะคะ (แบบเดียวกับรอบ 1-2-4 เลย)
.
รอบที่ 5 ยื่นผ่านระบบ TCAS
ในรอบนี้จะเป็นการใช้คะแนนระบบกลาง ไม่ว่าจะเป็น GPAX , GAT , ONET , PAT7.4 ดังนั้น ถ้าน้องๆวางแผนจะสอบเข้าในรอบนี้ เทคนิคก็คือ
เก็บเกรดในชั้นมัธยม
เพิ่มเป็นการเพิ่มคะแนนในส่วนของ GPAX ซึ่งก็ทำได้หลากหลายวิธีตามความถนัดและการเก็บคะแนนของแต่ละโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการบ้านส่ง การเรียนพิเศษเพิ่มเกรด รวมถึงการเตรียมบทเรียนและการเตรียมตัวสอบกลางภาคและปลายภาค
ซ้อมทำข้อสอบเก่า
สำหรับเทคนิคการเตรียม GAT , ONET , PAT7.4 นั้นก็คือการซ้อมทำข้อสอบเก่าเยอะๆ จนเราสามารถจับทางข้อสอบได้ว่าจะถามประมาณไหน คำถามแบบไหนที่ออกบ่อย ซึ่งจะช่วยให้เราเก็งข้อสอบได้และอ่านเตรียมเนื้อหาได้ตรงกับข้อสอบมากขึ้น ในตอนที่ซ้อมทำก็อย่าลืมจับเวลาไปด้วยนะคะ เราจะได้รู้ว่าเราใช้เวลาไปเท่าไร และทันหรือไม่เมื่อต้องไปสอบจริง
และ ทั้งหมดนี้ก็คือเทคนิคการเตรียมสอบเข้้า PBIC ในแต่ละรอบสำหรับน้องๆเด็ก 65/66/67 น้องๆสามารถนำเทคนิคไปปรับใช้ให้เข้ากับตัวเองได้เลย มีทั้งเทคนิคและเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ ยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสมากขึ้นนะคะ
.
.
น้องๆคนไหนสนใจติวสอบ PBIC จีนศึกษา & HSK4 แบบ Intensive
หรือ วางแผนการเข้ามหาลัยกับพี่ปิง ECI ติดต่อมาได้ทาง:
.
FB: www.facebook.com/ecitutor
IG: www.instagram.com/ecinspiration
.
– – – – –
.
🙋♂️สอนสด ดูแลตลอดหลักสูตรทุกเนื้อหา โดยพี่ปิง
เกียรตินิยมอันดับ 1 จีนศึกษา PBIC TU
รุ่นพี่โดยตรง ผู้ติวสอบน้องๆเข้า PBIC 7 รุ่น (รุ่นละ 25 คน สำเร็จ 98-100%)
.
ดูรีวิว และ ความสำเร็จรุ่นพี่ๆได้ทาง IG
www.instagram.com/ecinspiration
.
– – – – –
ติวสอบPBIC จีนศึกษาครบวงจร
✅ Portfolio For PBIC
✅ Interview For PBIC
✅ Writing For PBIC
✅ HSK4 – 60 ชั่วโมง
✅ HSK5 – 60 ชั่วโมง
✅ PAT7.4 – 58 ชั่วโมง
.
#ศัพท์จีน #สอบHSK #HSK4 #HSK
#PAT74 #ติวHSK #PATจีน #เรียนจีน #Chinese
#ติวสอบHSK4 #ภาษาจีน #จีนพื้นฐาน #ติวสอบPBIC
#จีนศึกษา #PBICTU #PBIC #ChineseStudies #Dek66
#Dek64 #Dek65 #ChineseVocab #ChineseWords
#TCAS64 #TCAS65 #เอกจีน #ECITutor #ECInspiration #studygram #studygramthailand