“เป็ดปักกิ่ง” ไม่ได้มาจาก ปักกิ่ง จริงๆนะ 🦆
.
หากกล่าวถึงอาหารจีน คงไม่มีใครไม่นึกถึง #เป็ดปักกิ่ง หนังกรอบๆ แป้งนุ่มๆ ซอสหวานๆ
แค่นึกภาพตามก็ชวนน้ำลายสอ แต่รู้หรือไม่ว่าเป็ดปักกิ่ง ต้นกำเนิดที่แท้จริงไม่ได้มาจากปักกิ่ง
เมนูนี้มีที่มาเป็นอย่างไร มาดูกัน!!
.
.
– – – – –
.
✅ กด See First กันด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาด เรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆ เกี่ยวกับประเทศจีน 🇨🇳
.
✅ ติดตามสาระ บันเทิงดีๆ Angbao Society เพิ่มเติมทาง
.
– – – – –
.
.
สมัยราชวงศ์หมิง ปี 1368 ฮ่องเต้จูหยวนจาง สถาปนาเมืองหลวงที่หนานจิง
ซึ่งถ้าพูดถึงเป็ด… ที่หนานจิงมีลักษณะเด่น คือเป็น เป็ดที่อ้วน
.
ชั้นไขมันหนา เนื้อแน่น การกินเป็ดเป็นที่นิยมในชาวเมือง ฮ่องเต้เองก็โปรดปรานโดยเฉพาะเป็ดย่าง
.
ว่ากันว่า… จูหยวนจาง กินเป็นย่างวันละตัว พ่อครัวในวังหลวงต่างก็พยายามหาวิธีปรุงรสให้หลากหลาย และ พัฒนารสชาติ เพื่อให้ฮ่องเต้พอพระทัย
.
พ่อครัวชาวหนานจิงก็คิดค้นวิธีขึ้นมา 2 วิธี
แบ่งเป็น #ย่างไม่ปิดเตา กับ #ย่างไฟแรง ทั้งสองวิธีก็ยังตกทอดมาถึงทุกวันนี้
.
.
.
#ย่างไม่ปิดเตา 挂炉烤 เป็นการย่างแบบไม่ปิดเตา แขวนเป็ดไว้รอบๆกองไฟ ใช้ฟืนไม้ที่ไม่มีควัน ใช้ความร้อนสูง ไฟแรง ย่างนาน
ระหว่างย่างจะหมุนเป็ด สลับที่แขวนเป็ด เพื่อให้เป็ดทุกตัวสุกเท่ากัน และ พร้อมกันทั่วทั้งตัวทุกตัว
เป็ดที่ผ่านการย่างแบบนี้ทำให้ไขมันละลายออกมามาก หนังจะกรอบ แต่เนื้อนุ่ม
.
.
ส่วน #ย่างไฟแรง 焖炉烤 จะย่างโดยที่ก่อไฟให้ความร้อนสูงมากๆ แล้วดับไฟ
จากนั้นจะเอาเป็ดใส่เข้าไปในเตา อาศัยความร้อนจากถ่านที่มอด และ อบความร้อนภายในเตาเป็นตัวที่ทำให้เป็ดสุก
.
วิธีนี้จะต้องปิดเตา และ ไม่มีการเปิดมาดูระหว่างย่าง
เปิดอีกครั้งคือ ตอนเอาเป็ดออกมา ในวิธีนี้จะรอให้ความร้อนค่อยๆเย็นลง
เป็ดจะไม่โดนไฟโดยตรง ไขมันเป็ดจะยังชุ่มชื้น หนังกับเนื้อไม่แยกออกจากกัน
.
.
.
ไม่มีหลักฐานปรากฏว่า แบบไหนที่ฮ่องเต้โปรดปรานมากกว่า แต่เมื่อฮ่องเต้หย่งเล่อ (โอรสองค์ที่สี่ขององค์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิง)
ย้ายเมืองหลวงไปที่ปักกิ่ง ก็ได้นำวัฒนธรรมการกินเป็ดจากหนานจิงมาด้วย
พ่อครัว และ คนในห้องเครื่องมากฝีมือก็ตามมา ต่อมามีการพัฒนาในเทคนิคการเลี้ยงเป็ด เช่น ให้เป็ดกินน้ำแร่ เป็นต้น
.
ต่อสูตรการทำเป็ดย่างทั้งสองก็ได้เผยแพร่ออกไปนอกวัง พ่อครัวไปเปิดร้านในปักกิ่ง
.
.
.
ต่อมาในราชวงศ์ชิง ทั้งองค์ฮ่องเต้เฉียนหลง และ พระนางซูสีไทเฮาต่างก็ชอบเสวยเป็ดย่างมาก จึงตั้งชื่อให้เมนูนี้อย่างเป็นทางการว่า #เป็ดปักกิ่ง ตามชื่อเมืองหลวงในขณะนั้น
.
ชื่อนี้จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้คนทั่วไป #เข้าใจผิด ว่าต้นกำเนิดของเมนูนี้มาจากปักกิ่ง
.
.
.
แม้ว่าเมนูนี้จะมีมานานหลายร้อยปี แต่ก็ไม่ใช่ว่าเฉพาะฮ่องเต้หรือชาววังเท่านั้นที่มีลาภปาก ได้รับประทาน ร้านดั้งเดิมยังสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
.
.
.
.
ร้านแรกที่เปิดมาตั้งแต่ปี 1416 ในราชวงศ์หมิงนั่นเอง เก่าแก่ที่สุด และ ยังทำการมาถึงปัจจุบัน
คือ ร้านเผี๋ยนอี้ฝาง 便宜坊 เป็น #ย่างไฟแรง มีอายุกว่า 600 ปี
.
แต่ร้านที่มีชื่อเสียงดังเป็นพลุแตก ทั่วโลกรู้จัก
คือ ร้านฉวนจวี๋เต๋อ 全聚德 #ย่างไม่ปิดเตา ที่เปิดในสมัยราชวงศ์ชิง
ซึ่งร้านนี้เป็นร้านที่มีเฟรนไชส์เยอะมากที่สุด และ ได้เข้าตลาดหุ้นจีนไปเรียบร้อยแล้ว
.
.
.
ท้ายที่สุด คนไทยไม่ได้เรียกผิด และ คนจีนก็ไม่ได้เข้าใจผิดแต่อย่างใด เพราะตอนตั้งชื่อวังหลวงราชวงศ์ชิง คงตั้งใจให้เมนูนี้เป็นเอกลักษณ์ในสมัยนั้น
และ เมืองหลวงของจีน ก็ยังคงเป็นกรุงปักกิ่งมาจวบจนปัจจุบัน
แต่ก็เป็นที่น่าชวนคิดว่า…
หากปัจจุบันเมืองหลวงไม่ใช่ปักกิ่ง เมนู #เป็ดปักกิ่ง จะดัง และ อยู่มาจนถึงตอนนี้หรือไม่
.
หรือ อาจเป็นไปได้ไหมว่า มันอาจจะถูกเรียกเป็น…
“เป็ด…(อื่นๆ)” แทน
.
.
– – – – –
.
.
#AngbaoZhidao
.
.
#เป็ดปักกิ่ง เป็นหนึ่งในสามของนโยบายต่างประเทศ ของจีนในสมัยที่โจวเอิ้นไหลเป็นผู้นำ
.
ยอดขายเป็ดปักกิ่งที่สูงที่สุดคือในปี 2017 ร้านฉวนจวี๋เต๋อ ขายเป็ดไป 5,800 ตัวใน 12 ชั่วโมง เท่ากับว่า “เป็ดปักกิ่ง” ถูกขายไป 5 ตัวทุกๆนาที
.
ในปี 2008 จีนเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ ผู้คนต่อคิวนานที่สุดในการรอทานเป็ดคือช่วงมื้อเย็น โดยรอนานถึง 400 คิว
.
ร้านฉวนจวี๋เต๋อ 全聚德 ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จีน
มีตัวย่อคือ 002186 ปัจจุบัน (มิถุนายน 2020) มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3,600 ล้านหยวน (คิดเป็น 16,000 ล้านบาท) ซึ่งเป็นตัวเลขใกล้เคียงกับ งบที่กระทรวงกลาโหมจะโอนคืนเพื่อมาเยียวยา โควิด-19 เลยทีเดียว
.
.
#AngbaoKnows EP.9
#รู้จักจีนกับเรื่องเล่าเข้าใจง่ายๆ
.
.
#AngbaoSociety
#วาไรตี้รายการจีนโดยหนุ่มตี๋สาวหมวย